16 มีนาคม 2553

การปลูกเลี้ยงและ การขยายพันธุ์

การปลูกเลี้ยง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดสามารถปลูกเลี้ยงได้ในเรือนกระจก เช่น N. alata, N. ventricosa, N. khasiana และ N. sanguinea หม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้ง4ชนิดนี้เป็นพืชที่สูง (highlanders) (N. alata มีทั้งแบบพื้นราบและที่สูง) ส่วนตัวอย่างของชนิดพืชพื้นราบ (lowlander) ก็คือ N. rafflesiana, N.bicalcarata, N.mirabilis และ N.hirsuta

"พืชที่สูง" เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ขึ้นในที่สูงอากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน (1000 เมตรขึ้นไป) "พืชพื้นราบ" เป็นชนิดที่ขึ้นใกล้กับระดับน้ำทะเล (0-1000 เมตร) หม้อข้าวหม้อแกงลิงชอบน้ำสะอาด , แสงมาก (ไม่ใช่แดดจัด), ชอบชื้นไม่ชอบแฉะ, อากาศไหลเวียนได้ดี ตัวอย่างชนิดที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายอย่างเช่น N. alata ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำได้ดี พวกชนิดพื้นที่สูงต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นถึงจะเจริญเติบโตได้ ดี สามารถให้ปุ๋ยได้โดยให้เจือจางกว่าที่ระบุบในฉลาก ป้อนแมลงบ้างเป็นบางครั้ง บางชนิดใช้พื้นที่ในการปลูกเลี้ยงน้อยเช่น N. bellii, N. × trichocarpa และ N. ampullaria แต่ส่วนมากจะมีขนาดต้นที่ใหญ่และยาว

การขยายพันธุ์

* การเพาะเมล็ด ให้โรยบนสแฟกนัมมอสส์ที่ เปียกชื้นหรือบนวัสดุปลูกอื่นๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เช่นขุยมะพร้าว, พีทมอสส์ ฯลฯ หลังฝักแตกออกให้รีบเพาะเมล็ดเพราะอัตรางอกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเก็บไว้นาน เข้า ส่วนผสม 50:50 ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้เช่นมอสส์กับเพอร์ไลต์ เป็นส่วนผสมที่เหมาะที่สุดในการเพาะเมล็ด เมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการงอกเป็นต้นอ่อน และหลังจากนั้น 2 ปีหรือมากกว่านั้นจึงจะให้ดอก
* การปักชำ ให้ทำปักชำในสแฟกนัมมอสส์ ถ้าความชื้นและแสงพอเพียงต้นไม้จะงอกรากใน 1-2 เดือนและจะเริ่มให้หม้อใน 6 เดือน
* การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันเป็นการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าซึ่งได้ช่วยลดจำนวนต้นไม้ที่ถูก เก็บออกจากป่ามาขายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี พืชหายากจำนวนมากยังถูกเก็บออกมาขาย เป็นเพราะราคาที่แพงของมันนั่นเอง หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกบรรจุในรายชื่อพืชที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญ พันธุ์ของไซเตสในบัญชี 1 และ 2

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง

รูปแบบของกับดัก

พืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินสัตว์ที่มีกับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เหมือนกับพืชในสกุล Sarracenia, Darlingtonia, Heliamphora และ Cephalotus และการวิวัฒนาการของกับดักสันนิษฐานว่าการจากการคัดเลือกภายใต้แรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น มีสารอาหารในดินน้อย เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างใบรูปหม้อขึ้น และอาจเกิดจากแมลงซึ่ง เป็นเหยื่อของมันหาอาหารมีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ ทำให้เกิดการพัฒนาจากโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันกลายหม้อซึ่งเป็นกับ ดักแบบหลุมพราง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นถูกจัดให้มีบรรพบุรุษร่วมกับพืชที่มีกับดักแบบ กระดาษเหนียว ซึ่งแสดงว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดอาจมีการพัฒนามาจากกับดักแบบกระดาษ เหนียวที่สูญเสียเมือกเหนียวไป

กับดักเกิดขึ้นที่ปลายสายดิ่งหรือมือจับซึ่งพัฒนามาจากการยืดออกของเส้น กลางใบ โดยมากเป็นรูปทรงกลมหรือรูปหลอด เป็นกระเปาะ มีของเหลวอยู่ภายในมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ปากหม้อที่เป็นทางเข้าของกับดักอยู่ด้านบนของหม้อ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม ซึ่งมีลักษณะลื่น ฉาบไปด้วยขี้ผึ้งและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่น หล่นลงไปในหม้อ ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ มีฝาปิดอยู่ที่ด้านบนของกับดักป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปในหม้อ ใต้ฝามีต่อมน้ำต้อยไว้เพื่อดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่ง

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง

รูปร่างลักษณะและหน้าที่ของหม้อ

หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้น-สั้น สูงได้หลายเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรหรืออาจหนากว่านั้นในบางชนิด เช่น N. bicalcarata เป็นต้น จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะคล้ายใบ เหมือนกับสกุลส้ม ยาวสุดสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อที่เป็นใบแท้แปรสภาพมา หม้อเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆโตขึ้นอย่างช้าๆจนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูป หลอด


ส่วนประกอบพื้นฐานของหม้อบน

หม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญเพื่อใช้ย่อยแมลงใน หม้อ ความสามารถของของเหลวที่ใช้ดักจะลดลง เมื่อถูกทำให้เจือจางโดยน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นที่ เป็นถิ่นอาศัยของพืชสกุลนี้

ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ ทางเข้าของกับดักเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม จะลื่นและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปใน หม้อ ฝาหม้อ ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายๆชนิดนั้นใช้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปผสมกับของ เหลวในหม้อ และด้านข้างจะมีต่อมน้ำต้อยไว้ดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่งด้วย

โดยปกติหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือหม้อล่าง เป็นหม้อที่อยู่แถวๆโคนต้นมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม อีกชนิดคือหม้อบนที่ มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า หรือความแตกต่างอีกอย่างคือ หม้อล่างทำหน้าที่ล่อเหยื่อและดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนหม้อบน เมื่อต้นโตขึ้น สูงขึ้น หม้อบนจะลดบทบาทการหาเหยื่อ แต่เพิ่มบทบาทการจับยึด โดยก้านใบจะม้วนเป็นวง เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ข้างๆ ดึงเถาหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สูงขึ้นและมั่นคงขึ้นไม่โค่นล้มโดยง่าย แต่ในบางชนิดเช่น N. rafflesiana เป็นต้น หม้อที่ต่างชนิดกัน ก็จะดึงดูดเหยื่อที่ต่างชนิดกันด้วย

เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยปกติแล้วจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่ (N. rajah, N. rafflesiana เป็นต้น) บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หนู และสัตว์เลื้อยคลาน ดอกของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง จะแยกเพศกันอย่างชัดเจน แบบหนึ่งต้นหนึ่งเพศ ฝักเป็นแบบแคปซูล 4 กลีบและแตกเมื่อแก่ ภายในประกอบไปด้วยเมล็ด 10 ถึง 60 เมล็ดหรือมากกว่านั้น เมล็ดแพร่กระจายโดยลม

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ประวัติทางพฤกษศาสตร์



ก่อนที่ชื่อ นีเพนเธส จะถูกบันทึก ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ. 1658 ข้าหลวงชาวฝรั่งเศสที่ชื่อเบเตียน เดอ ฟรากูร์ (ฝรั่งเศส: Étienne de Flacourt) ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของพืชชนิดนี้ในงานสัมมนา Histoire de la Grande Isle de Madagascar (ประวัติของเกาะมาดากัสการ์) ดังนี้:

พืชชนิดนี้สูง 3 ฟุต ใบยาว 7 นิ้ว มีดอกและผลคล้ายแจกันขนาดเล็กที่มีฝาปิดเป็นภาพที่น่าประหลาดใจมาก มีสีแดงหนึ่งสีเหลืองหนึ่ง สีเหลืองมีขนาดใหญ่ที่สุด คนพื้นเมืองในประเทศนี้คัดค้านที่จะเด็ดดอกของมัน เพราะมีความเชื่อที่ว่าถ้าใครเด็ดมันแล้ว ฝนจะตกในวันนั้น ในเรื่องนั้นฉันและชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆเก็บมันมา แต่ฝนก็ไม่ตก หลังฝนตกดอกของมันเต็มไปด้วยน้ำที่เกาะอยู่จนดูคล้ายลูกแก้วที่แวววาว[แปล จากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]



ฟรากูรได้ตั้งชื่อพืชชนิดนี้ว่า Anramitaco สันนิษฐานว่าเป็นชื่อท้องถิ่น แล้วก็ล่วงเลยมามากกว่าศตวรรษ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จึงได้ถูกจัดจำแนกเป็น N. madagascariensis

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ 2 ที่ถูกพรรณนาถึงในปี ค.ศ. 1677 ได้แก่ N. distillatoria พืชถิ่นเดียวของศรีลังกา ถูกจัดจำแนกให้อยู่ภายใต้ชื่อ "Miranda herba" (สมุนไพรอันน่าพิศวง) 3 ปีต่อมา พ่อค้าชาวดัชต์ที่ชื่อเจคอบ เบรนี (Jacob Breyne) อ้างว่าพืชชนิดนี้เป็น Bandura zingalensium ซึ่งเป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น ในภายหลัง Bandura ได้กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วไปจนกระทั่งลินเนียสได้ตั้งชื่อ นีเพนเธส ขึ้นในปี ค.ศ. 1737

N. distillatoria ถูกจัดจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1683 ครั้งนี้โดยแพทย์ชาวสวีเดน ที่ชื่อ เอช.เอ็น. กริม (H. N. Grimm) กริมได้เรียกมันว่า Planta mirabilis distillatoria หรือ "พืชกลั่นน้ำอันน่าอัศจรรย์" และเป็นครั้งแรกที่มีภาพประกอบอย่างละเอียดของพืชชนิดนี้3 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1686 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่อจอน เรย์ (อังกฤษ: John Ray) อ้างคำพูดของกริมมากล่าวดังนี้:

รากดูดความชุ่มชื้นจากดินด้วยความช่วยเหลือของแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวมัน แล้วส่งผ่านไปยัง ลำต้น ก้าน ใบที่น่ากลัวของมัน ไปสู่ภาชนะตามธรรมชาติ แล้วเก็บกักไว้จนกว่ามนุษย์จะต้องการมัน [แปลจากภาษาละตินใน หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]



หนึ่งในภาพประกอบแรกๆของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ปรากฏใน Almagestum Botanicum (สารานุกรมพฤกษศาสตร์ ) ของเลียวนาร์ด พลูคีเน็ต (Leonard Plukenet) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1696 พืชที่เรียกว่า Utricaria vegetabilis zeylanensium ก็คือ N. distillatoria นั่นเอง


ภาพประกอบของ Cantharifera ใน Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) ของรัมฟิออซ, เล่ม 5, ปี ค.ศ. 1747 ถึงแม้ว่าจะถูกวาดหลังศตวรรษที่ 17 แต่ไม้เถาทางขวาไม่ใช่หม้อข้าวหม้อแกงลิง แต่เป็น Flagellaria

ในเวลาเดียวกันเกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (เยอรมัน: Georg Eberhard Rumphius) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบหม้อข้าวหม้อแกงลิง 2 ชนิดใหม่ในหมู่เกาะมลายู รัมฟิออซได้วาดภาพชนิดแรกไว้ เมื่อได้นำมาพิจารณาดูแล้วมันก็คือ N. mirabilis นั่นเอง และได้ให้ชื่อว่า Cantharifera แปลว่า "คนถือเหยือก" ชนิดที่ 2 ที่ชื่อ Cantharifera alba คิดว่าน่าจะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด N. maxima รัมฟิออซได้พรรณนาไว้ในงานเขียนที่มีชื่อเสียงมากของเขา : Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) บัญชีรายชื่อรุกขชาติแห่งเกาะอองบง ทั้ง 6 เล่ม อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้กลับไม่เป็นที่รู้จักจนกระทั่งเขาถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี

หลังจากตาบอดลงในปี ค.ศ. 1670 เมื่อต้นฉบับเขียนด้วยมือสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นบางส่วน รัมฟิออซก็ได้เขียน Herbarium Amboinensis ต่อด้วยความช่วยเหลือของเสมียนและจิตรกร ในปี ค.ศ. 1687 เมื่องานใกล้สำเร็จลุล่วง งานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งกับเสียหายไปเพราะไฟไหม้ แต่ด้วยความอุตสาหะ รัมฟิออซและผู้ช่วยของเขาก็ทำหนังสือเล่มแรกแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1690 อย่างไรก็ตาม 2 ปีต่อมา เรือที่บรรทุกต้นฉบับไปสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับถูกโจมตีและจมลงโดยเรือรบของฝรั่งเศส เป็นการบังคับให้พวกเขาเริ่มใหม่อีกครั้ง แต่โชคยังดีที่ยังมีฉบับคัดลอกที่ถูกเก็บรักษาไว้โดย ข้าหลวง-นายพล โจฮันซ์ แคมฟุจซ์ (Johannes Camphuijs) ในที่สุดหนังสือ Herbarium Amboinensis ก็ไปถึงเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1696 แต่หนังสือเล่มแรกก็ยังไม่ถูกตีพิมพ์จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1741 เป็นเวลา 39 ปีหลังจากรัมฟิออซถึงแก่กรรม ในครั้งนี้ชื่อ นีเพนเธส ของลินเนียสได้กลายเป็นมาตราฐานที่มั่นคงแล้ว
ภาพวาดของ Bandura zeylanica (N. distillatoria) จาก Thesaurus Zeylanicus (อรรถาภิธานจากศรีลังกา) ของเบอร์แมน ในปี ค.ศ. 1737

N. distillatoria ถูกวาดภาพและอธิบายอีกครั้งใน Thesaurus Zeylanicus (อรรถาภิธานจากศรีลังกา) ของโจฮันซ์ เบอร์แมน (Johannes Burmann) ในปี ค.ศ. 1737 ภาพวาดแสดงให้เห็นตั้งแต่ดอก ลำต้น และหม้อ เบอร์แมนเรียกพืชชนิดนี้ว่า Bandura zeylanica

การอ้างถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงครั้งต่อมาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1790 เมื่อพระชาวโปรตุเกสที่ชื่อโจเอา เดอ เลอรีโร (João de Loureiro) พรรณนาถึง Phyllamphora mirabilis หรือ "ใบรูปหม้ออันน่าพิศวง" จากเวียดนาม แม้เขาจะอยู่ในประเทศนี้มาถึง 35 ปี มันดูไม่เหมือนว่า เลอรีโรจะเฝ้าศึกษาพืชชนิดนี้อย่างจริงจังนัก เขาอ้างว่าฝาของหม้อเคลื่อนไหวได้ในรูปแบบเปิดและปิดฝาหม้อ ในงานที่มีชื่อเสียงของเขา : Flora Cochinchinensis (พืชจากเวียดนามใต้ ) เขาเขียนไว้ว่า:

[...] สายดิ่งที่ยื่นยาวต่อจากปลายสุดของใบที่บิดขดเป็นวงอยู่ตรงกลาง ทำหน้ายึดหม้อนิ่มๆรูปไข่นั่นไว้ มันมีปากที่เรียบเป็นโครงยื่นตรงขอบและที่ด้านตรงข้ามเป็นฝาปิด ซึ่งเปิดอยู่โดยธรรมชาติ และจะปิดเมื่อต้องเก็บกักน้ำค้างไว้ เป็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าพิศวงมาก! [แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]



ในที่สุด Phyllamphora mirabilis ก็ถูกเปลี่ยนเข้าสู่สกุลของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยเกออร์จ คลาริดก์ ดรูซ (George Claridge Druce) ในปี ค.ศ. 1916 ดังนั้น P. mirabilis จึงเป็น ชื่อเดิม (basionym) ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลกหลายชนิด

การเคลื่อนไหวของฝาหม้อที่ถูกกล่าวอ้างโดยเลอรีโรได้ถูกกล่าวซ้ำอีกครั้งโดยจีน ลุยซ์ มารี ปัวร์เรต (Jean Louis Marie Poiret) ในปี ค.ศ. 1797 ปัวร์เรตได้กล่าวถึง 2 ใน 4 ชนิดที่เป็นที่รู้จักในขณะนั้น : N. madagascariensis และ N. distillatoria เขาสร้างรูปแบบชื่อปัจจุบันและชื่อเรียกตามหลัง : Nepente de l'Inde หรือ "หม้อข้าวหม้อแกงลิงของประเทศอินเดีย" ถึงแม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ก็ตาม

ใน Encyclopédie Méthodique Botanique (สารานุกรมพฤกษศาสตร์) ของจีน-บาปตีสต์ เดอ ลามาร์ก (ฝรั่งเศส: Jean-Baptiste de Lamarck) เขารวบรวมไว้ดังนี้ :

มันเป็นหม้อที่น่าพิศวง ตามดังที่ฉันจะกล่าวต่อไปนี้ โดยปกติเมื่อหม้อเต็มไปด้วยน้ำสะอาดฝาหม้อก็จะปิดลง มันจะเปิดขึ้นในระหว่างตอนกลางวัน และน้ำส่วนมากจะหายไป แต่น้ำที่หายไปนี้ใช้ไปในการบำรุงต้นระหว่างกลางคืนก็เป็นได้ และเมื่อวันใหม่เมื่อหม้อเต็มอีกครั้ง ฝาก็จะปิดลงเช่นเดิม นี่เป็นอาหารของมัน และมากเพียงพอใน 1 วันเพราะน้ำนั้นจะเหลือครึ่งเดียวในตอนกลางคืน [แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]

โรงเรือนปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงของ สถานเพาะเลี้ยงวิตช์ ภาพใน The Gardener s' Chronicle (บันทึกของชาวสวน ) ปี ค.ศ. 1872

เมื่อมีการค้นพบชิดใหม่ๆ ความสนใจในการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงจึงเกิดขึ้นตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็ว่าได้ โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 อย่างไรก็ตามความนิยมนี้กลับลดลงในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะหายไปเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง นี่เป็นเครื่องแสดงข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีการค้นพบชนิดใหม่เลยในระหว่างปี ค.ศ. 1940 ถึง 1966 แต่ความสนใจในการปลูกเลี้ยงและการศึกษาในหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้กลับมาอีก ครั้ง ทั้งนี้ต้องยกความดีความชอบให้แก่นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อไซเกะโอะ คุระตะ (Shigeo Kurata) ผลงานของเขาในปี ค.ศ. 1960 และ 1970 ได้นำเข้าสู่ความนิยมในพืชชนิดนี้อีกครั้ง

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง

มารู้จักหม้อข้าวหม้อแกงลิงกันเถอะ

มารู้จักหม้อข้าวหม้อแกงลิงกันเถอะ

หม้อ ข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Nepenthes) ( nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne = ไม่, penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) ) หรือที่รู้จักกันในชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นสกุลของพืชกินสัตว์ใน วงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งประกอบไปด้วย 120 กว่าชนิด และลูกผสมอีกมากมาย เป็นไม้เลื้อยจากโลกเก่าที่ขึ้นในเขตร้อนชื้น กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปิน; ทางตะวันตกของมาดากัสการ์ (2 ชนิด) และเซเชลส์ (1 ชนิด) ; ตอนใต้ของออสเตรเลีย (3 ชนิด) และนิวแคลิโดเนีย (1 ชนิด) ; ตอนเหนือของอินเดีย (1 ชนิด) และศรีลังกา (1 ชนิด) พบมากที่บอร์เนียว และ สุมาตรา ส่วนมากนั้นเป็นพืชที่ขึ้นตามที่ลุ่มเขตร้อนชื้น แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ๆมักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อน ตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Monkey Cups) มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้


ศัพทมูลวิทยา

คำ ว่า Nepenthes (นีเพนเธส) ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1737 ใน Hortus Cliffortianus (แคตาล็อกแสดงพรรณพืชของคลิฟฟอร์ด) ของคาโรลัส ลินเนียส มาจากมหากาพย์โอดิสซีของโฮเมอร์ ในข้อความที่ว่า "Nepenthes pharmakon" (เหยือกยาที่ใช้เพื่อลืมความเศร้าซึ่งหมายถึงเหล้านั่นเอง) ถูกมอบให้เฮเลนโดยราชินีแห่งอียิปต์ คำว่า "Nepenthe" แปลตรงตัวได้ว่า "ปราศจากความเศร้าโศก" (ne = ไม่, penthos = เศร้าโศก) และในตำนานเทพเจ้ากรีกนั้น เป็นการดื่มเพื่อให้ลืมความเสียใจ ลินเนียสอธิบายไว้ว่า :


ถ้ามันไม่ใช่เหยือกเหล้าของเฮเลนแล้ว มันคงจะเป็นของนักพฤกษศาสตร์ทุกคนอย่างแน่นอน สิ่งใดที่นักพฤกษศาสตร์รู้สึกว่าธรรมดาไม่น่าชื่นชม ถ้าหลังจากการเดินทางอันยาวนานและแสนลำบาก แล้วเขาสามารถพบพืชที่แสนวิเศษนี้ ในความรู้สึกของเขาที่ผ่านสิ่งแย่ๆและลำบากมานั้นก็ต้องถูกลืมเลือนไปหมด สิ้น เมื่อเห็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าชมเชยนี้! [แปลจากภาษาละตินโดย เอช. เจ. วีตช์]

พืชที่ลินเนียสกล่าวถึงก็คือ Nepenthes distillatoria หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากศรีลังกา



หม้อ ข้าวหม้อแกงลิง ถูกตั้งให้เป็นชื่อสกุลในปี ค.ศ. 1753 ใน "Species Plantarum (ชนิดพันธุ์พืช) " ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่ถูกยอมรับและใช้จนมาถึงปัจจุบัน และ N. distillatoria ก็เป็นชนิดต้นแบบในสกุลนี้



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง