16 มีนาคม 2553

มารู้จักหม้อข้าวหม้อแกงลิงกันเถอะ

มารู้จักหม้อข้าวหม้อแกงลิงกันเถอะ

หม้อ ข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Nepenthes) ( nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne = ไม่, penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) ) หรือที่รู้จักกันในชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นสกุลของพืชกินสัตว์ใน วงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งประกอบไปด้วย 120 กว่าชนิด และลูกผสมอีกมากมาย เป็นไม้เลื้อยจากโลกเก่าที่ขึ้นในเขตร้อนชื้น กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปิน; ทางตะวันตกของมาดากัสการ์ (2 ชนิด) และเซเชลส์ (1 ชนิด) ; ตอนใต้ของออสเตรเลีย (3 ชนิด) และนิวแคลิโดเนีย (1 ชนิด) ; ตอนเหนือของอินเดีย (1 ชนิด) และศรีลังกา (1 ชนิด) พบมากที่บอร์เนียว และ สุมาตรา ส่วนมากนั้นเป็นพืชที่ขึ้นตามที่ลุ่มเขตร้อนชื้น แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ๆมักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อน ตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Monkey Cups) มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้


ศัพทมูลวิทยา

คำ ว่า Nepenthes (นีเพนเธส) ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1737 ใน Hortus Cliffortianus (แคตาล็อกแสดงพรรณพืชของคลิฟฟอร์ด) ของคาโรลัส ลินเนียส มาจากมหากาพย์โอดิสซีของโฮเมอร์ ในข้อความที่ว่า "Nepenthes pharmakon" (เหยือกยาที่ใช้เพื่อลืมความเศร้าซึ่งหมายถึงเหล้านั่นเอง) ถูกมอบให้เฮเลนโดยราชินีแห่งอียิปต์ คำว่า "Nepenthe" แปลตรงตัวได้ว่า "ปราศจากความเศร้าโศก" (ne = ไม่, penthos = เศร้าโศก) และในตำนานเทพเจ้ากรีกนั้น เป็นการดื่มเพื่อให้ลืมความเสียใจ ลินเนียสอธิบายไว้ว่า :


ถ้ามันไม่ใช่เหยือกเหล้าของเฮเลนแล้ว มันคงจะเป็นของนักพฤกษศาสตร์ทุกคนอย่างแน่นอน สิ่งใดที่นักพฤกษศาสตร์รู้สึกว่าธรรมดาไม่น่าชื่นชม ถ้าหลังจากการเดินทางอันยาวนานและแสนลำบาก แล้วเขาสามารถพบพืชที่แสนวิเศษนี้ ในความรู้สึกของเขาที่ผ่านสิ่งแย่ๆและลำบากมานั้นก็ต้องถูกลืมเลือนไปหมด สิ้น เมื่อเห็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าชมเชยนี้! [แปลจากภาษาละตินโดย เอช. เจ. วีตช์]

พืชที่ลินเนียสกล่าวถึงก็คือ Nepenthes distillatoria หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากศรีลังกา



หม้อ ข้าวหม้อแกงลิง ถูกตั้งให้เป็นชื่อสกุลในปี ค.ศ. 1753 ใน "Species Plantarum (ชนิดพันธุ์พืช) " ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่ถูกยอมรับและใช้จนมาถึงปัจจุบัน และ N. distillatoria ก็เป็นชนิดต้นแบบในสกุลนี้



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ไม่มีความคิดเห็น: